วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

1.เสือโคร่งทั่วไป

                                            

1.เสือโคร่งทั่วไป

เป็นเสือชนิดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนสีเหลืองปนเทาหรือเหลืองปนน้ำตาล มีลายดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางก็มีลายดำพาดขวางเช่นกัน ดูคล้ายเป็นปล้อง ๆ ปลายหางดำ หลังหูดำและมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงทะเลแคสเปียน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค และมีชุกชุมในป่าแถบแนวเทือกเขาตะนาวศรี และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

2.เสือโคร่งเบงกอล

                                       

2.เสือโคร่งเบงกอล

                                                                                                                                                                           เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรียที่พบในแถบไซบีเรียประเทศรัสเซีย
เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม
การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย

3.เสือโคร่งไซบีเรีย

                                       P.t.altaica Tomak Male.jpg

3.เสือโคร่งไซบีเรีย


เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่งเป็นสัตว์ในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบันเสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัว

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

4.เสือจากัวร์



4.เสือจากัวร์


เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง ขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ๆ หลังหูดำและมีจุดสีนวลที่หลังหู พบในทวีปอเมริกาใต้
เสือจากัวร์กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง หมู ลิง นกยูง สุนัข รวมทั้งแมลง 


5.เสือชีต้า

  
                                      5.เสือชีต้า

เป็นเสือรูปร่างเพรียว มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขายาว มีขนหยาบสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองอมแดง ตามลำตัวมีลายเป็นจุดสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดเป็นสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามามุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น เป็นเสือที่วิ่งเร็วที่สุด สามารถวิ่งได้เร็วถึง 100-110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีถิ่นอาศัยอยู่ในแอฟริกา ในทะเลทรายซาฮารา แทนซาเนีย นามีเบีย ในเอเชีย พบในเอเชียไมเนอร์ เตอร์กีสถาน และอินเดีย แต่ในอินเดียปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว 



ปกติเสือชีต้าล่าเหยื่อขนาดปานกลางเช่น แอนติโลป กาเซลล์ อิมพาล่า วอเตอร์บัค สำหรับเหยื่อขนาดใหญ่อย่างม้าลาย ก็ล่าได้เช่นกัน นอกจากนี้ก็ล่ากระต่ายป่า นก รวมทั้งแพะแกะด้วย 

6.เสือดาว



6.เสือดาว


เสือดาวเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง 
กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน

7.เสือปลา



7.เสือปลา

รูปร่างคล้ายแมวบ้านแต่ตัวโตกว่า หน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้นๆเรียงเป็นแนวตามตัว พบในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน เกาะสุมาตรา และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร 
กินแมลงและสัตว์เล็กต่างๆเป็นอาหาร เช่น ปู กบ เขียด นก หนู และหอย แต่ปลาเป็นเหยื่อที่เสือปลาชอบมากที่สุด 

8.เสือไฟ

8.เสือไฟ

รูปร่างเพรียว สูงใหญ่ขนาดสุนัขพื้นเมือง ขายาว มีขนสีน้ำตาลแกมแดง ไม่มีลายและจุดดำตามตัว แต่มีเส้นดำ 2-3 เส้นวิ่งตามยาวลงมาที่หน้าผาก ไม่มีจุดขาวที่หลังหู ด้านบนของหางมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ตรงปลายหางด้านล่างเป็นสีขาวเห็นได้ชัด เสือไฟเวลาเดินจะยกหางขึ้นข้างบนพบในธิเบต เนปาล สิกขิมตลอดจนจีนตอนใต้ พม่า ไทย และอินโดจีนจนถึงมาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทย พบทั้งในป่าผลัดใบและป่าดงดิบทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะแนวป่าทางทิศตะวันตกติดประเทศพม่าลงไปทางใต้ 
เสือไฟกินสัตว์เล็กๆเช่น กระต่าย กวางเล็ก ๆ นกยูง เก้ง กิ้งก่า เป็ด ไก่  

9.เสือลายเมฆ


9.เสือลายเมฆ

ตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียวและมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆ หูด้านในมีสีอ่อน ด้านนอกเป็นสีเข้มและมีจุดขาวที่หลังหู หน้าผากมีจุดสีเข้มหลายจุด หางยาวใหญ่มากและมีจุดตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่พบในเนปาล สิกขิมไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน ลงมาถึงพม่า ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค 
เสือลายเมฆกินสัตว์เล็กเช่น นก งู ลิง ค่าง จนถึงลูกสัตว์ใหญ่ 

10.เสือโคร่งขาว


10.เสือโคร่งขาว

 มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับเสือโคร่งเบงกอลทุกประการ เพียงแต่มีลักษณะเด่น คือ แต่มีขนพื้นสีขาวและลายสีน้ำตาลเข้ม ม่านตาสีฟ้า จมูกสีชมพูและสีขาวครีม ซึ่งเกิดจากการผิดปกติของยีน โดยมิใช่สัตว์เผือกโดยแท้จริงแต่เป็นอาการผิดปกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อย ที่เรียกว่า "ภาวะด่างเสือโคร่งขาวเบงกอล ตัวแรกที่มีประวัติบันทึกไว้ในธรรมชาติ พบที่ประเทศอินเดียในรอบ 100 ปี พบเพียง 12 ตัวเท่านั้นปัจจุบันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ และด้วยความโดดเด่นในสีผิวจึงนิยมแสดงไว้ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ มีการนำไปเพาะเลี้ยงในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จนมีแพร่ขยายพันธุ์ออกลูกในที่เลี้ยงปัจจุบันมีเสือโคร่งขาวประมาณ 200 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

11.เสือพูมา


11.เสือพูมา

เสือพูมามีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น แคตาเมานต์ สิงโตภูเขา คูการ์ เป็นสัตว์ที่ประสบความสำเร็จมากในฐานะของผู้ล่า ส่วนหนึ่งอาจมาจากความสามารถในการปรับตัว จึงรอดพ้นการสูญพันธุ์ของสัตว์ตระกูลแมวครั้งใหญ่ที่เกิดช่วงท้ายของยุคไพลโตซีนในอเมริกาเหนือมาได้แม้จะดูตัวใหญ่อย่างเสือ แต่เชื่อว่าเสือพูมามีสายเลือดใกล้ชิดแมวมากกว่า ไม่มีกระดูกไฮออยด์ยืดหยุ่นและไม่มีสายเสียงขนาดใหญ่ดังที่มีในสัตว์ในสกุลแม้พูมาจะคำรามไม่ได้ แต่ก็เปล่งเสียงได้หลายแบบ และทั้งตัวผู้กับตัวเมียก็มีเสียง
ต่างกัน


12.เสือดาวหิมะ


12.เสือดาวหิมะ

มีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาวช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่น ซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมะจะห่างกันมากกว่าและไม่คมชัดเท่า มีกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ที่แข็งแรง อุ้งเท้ากว้างแข็งแรงและปกคลุมด้วยขน ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ผิวและกระจายน้ำหนักตัวลงบนหิมะได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยปกป้องอุ้งเท้าจากความเย็นของหิมะได้ดี มีโพรงจมูกใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษช่วยให้อากาศที่เย็นเปลี่ยนเป็นอุ่น ก่อนที่จะสูดหายใจเข้าไปในปอดและมีหางยาวที่ขนฟูสามารถพันรอบตัวเพื่อป้องกันความหนาวได้เหมือนผ้าพันคอ

13.เสือดำ


13.เสือดำ

เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของสัตว์กินเนื้อประเภทเสือเเละเเมวที่มีลักษณะลำตัวรวมถึงลวดลายเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเสือหลายชนิดจากการเป็นเสือดำ
เกิดจากความผิดปกติในเม็ดสีที่เรียกว่าเมลานิซึมส่งผลให้เสือที่เกิดมานั้นเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว โดยที่ยังมีลายหรือลายจุดคงอยู่ แต่จะสังเกตเห็นได้ยากจะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในแสงแดดเรื่องราวของเสือดำในประเทศไทยเคยเป็นข่าวฮือฮาเมื่อราว พ.ศ. 2521 เมื่อปรากฏข่าวว่า มีเสือดำตัวหนึ่งเพ่นพ่านอยู่แถวมักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร จนเป็นที่หวาดกลัวของผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นจนได้ชื่อว่า "เสือดำมักกะสัน"แต่อีก2ปีต่อมาก็ปรากฏว่าเป็นเสือดำที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ซื้อมาในราคา 3,000 บาท และนำมาปล่อยไว้เอง เพื่อผลทางจิตวิทยาก่อนจะจับไปปล่อยไว้ในป่าห้วยขาเเข้ง

14.เสือโคร่งเเคสเปียน


14.เสือโคร่งแคสเปียน

เสือโคร่งแคสเปียน หรือ เสือโคร่งเปอร์เซีย เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน,เทือกเขาคอเคซัส, ภาคตะวันตกของจีน,ที่ราบสูงเเมนจูเรียเสือโคร่งแคสเปียน มีลักษณะคล้ายคลึงกับเสือโคร่งไซบีเรียมาก นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่อีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยตัวผู้ในเตอร์กิสถานมีความยาวลำตัว 270เซนติเมตร นับเป็นสถิติที่ใหญ่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กลงมาน้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 240 กิโลกรัม ล่ากวางและหมูป่า รวมถึงไก่ฟ้า กินเป็นอาหาร 

15.เสือโคร่งมลายู


15.เสือโคร่งมลายู



เสือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่งเป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากเสือโคร่งอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกันเสือโคร่งมาเลเซีย พบในป่าดิบชื้นของคาบสมุทรมลายูได้แก่ กลันตัน ตรังกานู เประก์ และปะหังในมาเลเซีย รวมทั้งป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย โดยมักอาศัยในป่าผืนเล็ก ๆ และแต่ละแห่งมีประชากรเสือโคร่งไม่มาก เสือโคร่งพันธุ์มาเลเซียชอบอยู่ตามป่าเต็งเล็งที่ต่ำ แต่ก็พบในป่าพรุด้วย ขนาดลำตัว เสือโคร่งมาเลเซียจะมีขนาดเล็กกว่าเสือโคร่งอินโดจีนเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วก็ใกล้เคียงกันมาก

16.เสือโคร่งชวา


                                                           16.เสือโคร่งชวา
เสือโคร่งชวา เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยพบได้ในอินโดนีเซีย โดยจะพบได้เฉพาะบนเกาะชวาเท่านั้น ปัจจุบันเสือโคร่งชวาได้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลีเสือโคร่งชวาเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี และเสือโคร่งสุมาตรา  ฃโดยตัวผู้มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 100-140 กิโลกรัม มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 245 เซนติเมตร ตัวเมียมีน้ำหนักระหว่าง 75-115 กิโลกรัม และมีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้เสือโคร่งชวาถูกคุกคามอย่างหนักจากการล่าของมนุษย์และการตัดไม้ทำลายป่ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย โดยส่วนมากถูกล่าอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่40จนกระทั่งในปี ค.ศ1970 เหลือเสือโคร่งชวาเพียงแห่งเดียวที่อุทยานเเห่งชาติเมรูเบติลีที่ชวาตะวันตกเท่านั้น  

17.เสือโคร่งอินโดจีน


17.เสือโคร่งอินโดจีน

รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอลและขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย 

18.เสือโคร่งจีนใต้



18.เสือโคร่งจีนใต้ 

เสือโคร่งจีนใต้ หรือ เสือโคร่งจีน หรือ เสือโคร่งเซียะเหมินรูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีสีขนที่อ่อนกว่าเสือโคร่งเบงกอลหรือเสือโคร่งอินโดจีนมีหางสั้นกว่า มีลวดลายที่น้อยกว่า นับเป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลวดลายน้อยที่สุด มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักเล็กกว่าเสือโคร่งอินโดจีนเล็กน้อย และมีลักษณะของโครงสร้างกะโหลกที่แตกต่างออกไป มีเบ้าตาลึก และมีโหนกนูนเล็กน้อยบริเวณด้านหลังต้นคอมีการกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะประเทศจีนทางตอนใต้ 

19.เสือโคร่งสุมาตรา



19.เสือโคร่งสุมาตรา

จัดเป็นเสือโคร่งขนาดเล็กที่สุดในโลกที่ยังคงพบได้จนถึงทุกวันนี้เสือโคร่งสุมาตรา มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีเท่านั้น มีลักษณะแตกต่างไปจากเสือโคร่งสายพันธุ์อื่น ๆ คือ ขนบริเวณต้นคอจะหนามากที่สุด มีลวดลายมากกว่า บางเส้นอาจแตกเป็นคู่และมีสีเข้มที่สุด มีขนาดลำตัวเล็ก ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวตั้แต่หัวจรดหาง 2.4 เมตร น้ำหนักประมาณ 100-140 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาว 2.2 เมตร และหนักเพียง 91 กิโลกรัมเท่านั้นอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นของเกาะสุมาตรา ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร เช่น หมูป่า, เก้ง,กวาง, สมเสร็จ รือแม้กระทั่งลิงอุรังอุตัง รวมถึงมนุษย์ด้วย

20.เสือโคร่งบาหลี


                                                          20.เสือโคร่งบาหลี
เสือโคร่งบาหลีเสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยมีอยู่ในอินโดนีเซีย โดยเสือโคร่งบาหลีจะพบได้เฉพาะบนเกาะบาหลีเท่านั้น ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วจากการล่าด้วยน้ำมือของมนุษย์เสือโคร่งบาหลีนับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่มีในโลก เมื่อเทียบกับเสือโคร่งไซบีเรียที่เป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่ที่สุดแล้ว เสือโคร่งบาหลีมีขนาดลำตัวเพียงครึ่งหนึ่งของเสือโคร่งไซบีเรียเท่านั้น โดยมีลำตัวไล่เลี่ยกับเสือดาวหรือเสือพูม่าที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ น้ำหนักในตัวผู้โดยเฉลี่ย 90-100 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียจะอยู่ที่ 65-80 กิโลกรัม ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางของตัวผู้ 220 เซนติเมตร ตัวเมีย 195-200 เซนติเมตรเสือโคร่งบาหลีมีสีขนและลวดลายบนลำตัวเข้มที่สุดในบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด เสือโคร่งบาหลีตัวสุดท้ายตายลงเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1937เป็นเสือตัวเมียที่ถูกยิงในบาหลีตะวันตกปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก มีซากเสือโคร่งบาหลีเพียง 8 ตัวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะได้มาจากการล่าในทศวรรษที่ 30