วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

1.เสือโคร่งทั่วไป

                                            

1.เสือโคร่งทั่วไป

เป็นเสือชนิดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนสีเหลืองปนเทาหรือเหลืองปนน้ำตาล มีลายดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางก็มีลายดำพาดขวางเช่นกัน ดูคล้ายเป็นปล้อง ๆ ปลายหางดำ หลังหูดำและมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงทะเลแคสเปียน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค และมีชุกชุมในป่าแถบแนวเทือกเขาตะนาวศรี และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

2.เสือโคร่งเบงกอล

                                       

2.เสือโคร่งเบงกอล

                                                                                                                                                                           เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรียที่พบในแถบไซบีเรียประเทศรัสเซีย
เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม
การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย

3.เสือโคร่งไซบีเรีย

                                       P.t.altaica Tomak Male.jpg

3.เสือโคร่งไซบีเรีย


เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่งเป็นสัตว์ในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบันเสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัว

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

4.เสือจากัวร์



4.เสือจากัวร์


เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง ขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ๆ หลังหูดำและมีจุดสีนวลที่หลังหู พบในทวีปอเมริกาใต้
เสือจากัวร์กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง หมู ลิง นกยูง สุนัข รวมทั้งแมลง 


5.เสือชีต้า

  
                                      5.เสือชีต้า

เป็นเสือรูปร่างเพรียว มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขายาว มีขนหยาบสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองอมแดง ตามลำตัวมีลายเป็นจุดสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดเป็นสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามามุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น เป็นเสือที่วิ่งเร็วที่สุด สามารถวิ่งได้เร็วถึง 100-110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีถิ่นอาศัยอยู่ในแอฟริกา ในทะเลทรายซาฮารา แทนซาเนีย นามีเบีย ในเอเชีย พบในเอเชียไมเนอร์ เตอร์กีสถาน และอินเดีย แต่ในอินเดียปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว 



ปกติเสือชีต้าล่าเหยื่อขนาดปานกลางเช่น แอนติโลป กาเซลล์ อิมพาล่า วอเตอร์บัค สำหรับเหยื่อขนาดใหญ่อย่างม้าลาย ก็ล่าได้เช่นกัน นอกจากนี้ก็ล่ากระต่ายป่า นก รวมทั้งแพะแกะด้วย 

6.เสือดาว



6.เสือดาว


เสือดาวเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง 
กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน

7.เสือปลา



7.เสือปลา

รูปร่างคล้ายแมวบ้านแต่ตัวโตกว่า หน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้นๆเรียงเป็นแนวตามตัว พบในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน เกาะสุมาตรา และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร 
กินแมลงและสัตว์เล็กต่างๆเป็นอาหาร เช่น ปู กบ เขียด นก หนู และหอย แต่ปลาเป็นเหยื่อที่เสือปลาชอบมากที่สุด